#ลูกจะ2ขวบแล้ว ยังไม่ยอมเล่น. ยังเล่นไม่ได้เลย. จะสอนอย่างไร

#ลูกจะ2ขวบแล้ว ยังไม่ยอมเล่น. ยังเล่นไม่ได้เลย. จะสอนอย่างไร

#ลูกจะ2ขวบแล้ว ยังไม่ยอมเล่น. ยังเล่นไม่ได้เลย. จะสอนอย่างไร

จริงๆแล้วก็ทำคลิปไว้ ยังตัดต่อไม่เสร็จ วันนี้ขอตอบเป็นบทความไปก่อน. ถ้าอย่างไรจะเอาคลิปมาให้ดูเพิ่มเติมต่อไปนะคะ

(วันนี้เอาคลิปเรียลๆยังไม่ตัดต่อมาให้ดูเลยดีกว่า)

ขอตอบดังนี้นะคะ

จะ 2 ขวบแล้ว #ก็ยังเล็กมากนะคะ. ไม่มีอะไรต้องรีบร้อน. มือใหม่ ถ้าไม่เคยเล่น ต่อให้ 4-5 ขวบ วันแรกก็ยังด๊อกแด๊ก แล้วนี่ยังไม่ 2 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กๆ. ไม่ต้องเร่งโตนะคะ. ค่อยเป็นค่อยไป. เด็กเล็ก เพิ่งเริ่มต้น ถ้าเราสอนไม่เป็น เขาจะไม่เก็ทว่าเล่นยังไง ต่อให้สอนเป็นก็ยังต้องใจเย็นๆ เพราะเด็กแต่ละคนก็มีอุปนิสัยแตกต่างกัน. บางคนปรับตัวเข้าหาสิ่งใหม่เร็ว. บางคนเป็นคนระแวดระวัง ต้องให้เวลาเขาสังเกตสังกา สร้างความคุ้นเคย วันละเล็กละน้อย การสอนลูกเล่นจักรยานนี่ก็ดีอย่าง เราได้เรียนรู้อุปนิสัยลูกด้วย เขาเรียนรู้แบบไหน บางครั้งเค้าสังเกตนาน แต่พอจะทำขึ้นมาก็เร็วเลยก็มี. บางคนก็ค่อยๆไป. ถ้าเราเข้าใจเขา เราจะไม่นอย ลูกก็ไม่นอย

วัยนี้ ตอนเริ่มต้น บางคนขึ้นคร่อมแล้วลงแล้ว อีกวันเริ่มเดินไปซัก 2-3 นาที ก็จอด ก็ไม่เป็นไรค่ะ. เราไม่ได้ต้องไปเร่งแข่งกับใครเขา ค่อยเป็นค่อยไป. เอาที่ลูกสบายใจ วันที่เขาคลิ๊กขึ้นมา เขาก็ทำได้ ประเด็นคือความคาดหวังของพ่อแม่ต้องตรงตามความเป็นจริงก่อน

สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อน คือ การเริ่มต้นเล่น คุณจะไม่ได้เห็นท่านั่งไถไปเร็วๆ ร่อนยกเท้าทันทีแน่นอน.

ท่าแรกที่เด็กๆต้องเรียนรู้คือ เดินประคองรถไปให้เป็นก่อน และให้เขารู้สึกถึงความปลอดภัย อุ่นใจ จัดการได้. นั่นคือ ง่ายๆคุณพ่อช่วยประคองรถพาเดินไปด้วยกันก่อน จับแฮนด์ด้วยมือสองข้าง คร่อมไปด้านหลัง เข็นช้าๆ (ห้ามเข็นเร็วเด็ดขาด!). ไปให้ช้าเท่าที่เด็กก้าวเท้าเดิน. ถ้าไม่เดินก็แค่ดันเบาๆ ให้เขาเริ่มก้าวเท้าช้าๆ ถ้าดันๆยังไงก็ไม่เดิน อาจจะต้องโอบด้านหลังและเอามือไปจับต้นขา หรือน่อง ยกแล้ววาง ข้างซ้าย ข้างขวา ให้เขาเข้าใจว่าก้าวเท้าออกไปแบบนี้นะ ทำ 2-3 ที เขาก็เริ่มเข้าใจ (ต้องเข้าใจว่าเด็กๆอาจจะไม่สามารถรู้ได้เองว่าเราจะให้เขาทำอะไร เราก็แสดงให้ดู หรือพาทำด้วยความใจเย็น และให้รู้สึกสนุก อย่าให้รู้สึกกดดัน) พอเริ่มเข้าใจ ก็กลับมาช่วยประคองแฮนด์ พาเดินไปตามจังหวะการก้าวเท้าของลูก. ลูกเดินเร็ว เราก็ต้องไปให้ทัน ถ้าเดินช้าก็ไปช้าๆ เราอย่าไปเร็วกว่าเขา เขาไปไม่ทัน เขาอาจจะไม่รู้สึกสนุก. หรืออาจจะสนุกเลยยกเท่าลอย ให้คุณพ่อเข็นตลอดๆไปเลย

เข็นให้ช้าที่สุด ยิ่งช้ายิ่งดี เพราะถ้าไม่ทันใจเขา. เขาจะเร่งฝีเท้าขึ้น และนั่นเขาได้เรียนรู้แล้วว่า จะทำให้รถเคลื่อนได้ด้วยการก้าวเท้าไปของเขานั่นเอง

ข้อสังเกตสำคัญ ณ สเต็บ นี้ เราพูดถึง”การพารถเดิน” หมายความว่า เด็กยัง”ยืน”คร่อมรถอยู่ ไม่ได้เอาก้นนั่งลงบนเบาะ อันนี้คือจุดสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มักเข้าใจผิด คอยบอกลูกที่เพิ่งเริ่มต้นใหม่ว่าให้นั่งลงสิลูก!! ยกเท้าลอยสิลูก!!!! อันหลังนี้ยิ่งแล้วใหญ่เลย รถ 2 ล้อไม่สามารถตั้งอยู่ได้เอง โดยที่เด็กๆยกเท้าขี้น ในขณะที่รถวิ่งไปด้วยความเร็วระดับเต่า การยกเท้าทรงตัวโดยปล่อยให้รถไหลไป จะเกิดขึ้นได้ เมื่อรถมีความเร็วระดับหนึ่ง หมายถึงเร็วพอสมควร อาจเกิดขึ้นได้ตอนที่รถไหลลงทางลาดชัน ดังนั้น ในสกีลระดับเตาะแตะ. เราคาดหวังเพียงเขาเดิน (ในท่ายืน) ประคองรถไปได้ แบบเซไปเซมานิดหน่อย. ตะกุกตะกักบ้าง. #เราต้องพอใจ และเริ่มปรบมือชื่นชมเขาได้แล้ว. ดีมาก!! เก่งมาก!! ทำแบบนี้ถูกแล้วครับ!! ได้ยินแบบนี้แล้ว ลูกจะหัวใจพองโต. เกิดความมั่นใจ และพยายามตะกุกตะกักเดินต่อไป. แบบนี้แล้ว เขาจะเริ่มมีสกีลในการจัดการรถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการเจอกับสถานการณ์จริง แล้วเขาก็จะเริ่มจัดการมันได้ดีขึ้น และเริ่มสนุก พอสกีลดีขึ้น สนุกขึ้น ทีนี้เขาจะไม่ยอมเลิกเล่นแล้ว หลังจากจุดนี้ ก็วางใจได้ละ ว่าเขาจะเรียนรู้และเจอท่าถนัดได้ด้วยตัวเขาเอง โดยเราคอยช่วยประคับประคอง เดินไปข้างๆ วิ่งไปข้างๆ และเชียร์เขาอยู่. อยากให้สนุก ก็ต้องออกไปวิ่งเล่นกับเขา. ไม่ใช่ให้เขาออกไปวิ่งเองแล้วเรานั่งดู พาเขาไปวิ่งในสวน ไปดูนกดูแมว. ไปทักทายเพื่อนบ้าน เราเริ่มกันแบบนี้ค่ะ.

ตอบยาวหน่อย. หวังว่าจะพอมีประโยชน์กับหลายๆท่านที่ประสบปัญหาแบบเดียวกันผ่านมาอ่านนะคะ